1 สัปดาห์ทำไมต้องมี 7 วัน??
เคยสงสัยมาตลอดว่าทำไมเราถึงใช้สัปดาห์มี 7 วัน ทำไมไม่ทำให้สอดคล้องกับเดือนในแต่ละเดือน หรือจำนวนวัน ใน 1 ปี เคยลองพยายามหาสมมุติฐานไปเรื่อย สิ่งที่ใกล้เคียงที่สุดคือ หลักการของทฤษฏีวงรอบของจันทรคติ คือ ประมาณ 28-30 วันต่อ 1 รอบ เลยจะมาบอกถึงที่มาในเรื่องนี้ให้ทราบกัน
1 สัปดาห์ มี 7 วัน เพราะในสมัยก่อน วัตถุท้องฟ้าที่สว่าง และมนุษย์สังเกตได้ มี 7 ดวง คือ ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดาวพุธ ดาวศุกร์ ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี และดาวเสาร์ จึงนำมาตั้งชื่อเป็นวันทั้ง 7 และส่งผลให้ 1 สัปดาห์มี 7 วัน จริงๆแล้วก็มีการแบ่ง 1 สัปดาห์แบบอื่นๆอีกมากมาย
1 เดือน เป็นหน่วยเวลาทางจันทรคติ คือเป็นการวัดคาบการเปลี่ยนเฟสของดวงจันทร์ 1 เดือนคือช่วงเวลาที่ดวงจันทร์กลับมามีเสี้ยวเท่าเดิมนั่นเองครับ ซึ่ง 1 เดือน มีประมาณ 29 วันครับ สำหรับปฏิทินสุริยคติ เราเอาเดือนมาใช้เพื่อแบ่งช่วงเวลาต่างๆในแต่ละปีออกจากกัน (คงไม่มีใครอยากท่องวันที่แบบว่า วันที่ 293 ปี ค.ศ. 2009 ใช่มั๊ยครับ) โดยแบ่งเป็น 12 เดือน แต่ให้แต่ละเดือนมีจำนวนวันต่างกัน เพื่อรวมให้ได้ 365 วัน
สำหรับ 1 ปีคือระยะเวลาที่๋โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ครบ 1 รอบพอดี มีค่าประมาณ 365.2422 วัน สังเกตว่าไม่ใช่ 365 วันพอดี ดังนั้นต้องมีการเพิ่มลดวันในแต่ละปี ตามแบบของปฏิทินเกรกอเรียน คือ 4 ปีเพิ่ม 1 วัน 100 ปีลด 1 วัน และ 400 ปีเพิ่มอีก 1 วัน ด้วยการเพิ่มลดวันเช่นนี้ จะทำให้ปฏิทินของเราแม่นยำไปอีกหลายหมื่นปี
1 เดือน เป็นหน่วยเวลาทางจันทรคติ คือเป็นการวัดคาบการเปลี่ยนเฟสของดวงจันทร์ 1 เดือนคือช่วงเวลาที่ดวงจันทร์กลับมามีเสี้ยวเท่าเดิมนั่นเองครับ ซึ่ง 1 เดือน มีประมาณ 29 วันครับ สำหรับปฏิทินสุริยคติ เราเอาเดือนมาใช้เพื่อแบ่งช่วงเวลาต่างๆในแต่ละปีออกจากกัน (คงไม่มีใครอยากท่องวันที่แบบว่า วันที่ 293 ปี ค.ศ. 2009 ใช่มั๊ยครับ) โดยแบ่งเป็น 12 เดือน แต่ให้แต่ละเดือนมีจำนวนวันต่างกัน เพื่อรวมให้ได้ 365 วัน
สำหรับ 1 ปีคือระยะเวลาที่๋โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ครบ 1 รอบพอดี มีค่าประมาณ 365.2422 วัน สังเกตว่าไม่ใช่ 365 วันพอดี ดังนั้นต้องมีการเพิ่มลดวันในแต่ละปี ตามแบบของปฏิทินเกรกอเรียน คือ 4 ปีเพิ่ม 1 วัน 100 ปีลด 1 วัน และ 400 ปีเพิ่มอีก 1 วัน ด้วยการเพิ่มลดวันเช่นนี้ จะทำให้ปฏิทินของเราแม่นยำไปอีกหลายหมื่นปี
นอกจากเมืองอูร์จะเป็นต้นกำเนิดของการกำหนดให้สัปดาห์หนึ่งมี 7 วันแล้ว ยังเป็นต้นกำเนิดของการกำหนดให้หนึ่งชั่วโมงมี 60 นาทีด้วย เพราะในยุคนั้น ชาวซุเมอร์เรียนใช้ระบบเลขหลัก 60 ในการคำนวน (แทนการใช้ระบบทศนิยมในปัจจุบัน)
ในยุคสมัยนั้น มนุษย์มีความเชื่อว่าโลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาลหรือเรียกว่า Geocentric ดวงอาทิตย์และสิ่งต่างๆ บนท้องฟ้าต่างโคจรรอบโลก และค้นพบว่ามีดาวเคราะห์ที่สามารถสังเกตุได้ด้วยตาเปล่า (naked eye planets) อยู่ 5 ดวง ซึ่งประกอบด้วย ดาวพุธ ดาวอังคาร ดาวศุกร์ ดาวพฤหัส และดาวเสาร์ เคลื่อนที่ผ่านกลุ่มดาวฤกษ์ (Fix Stars) หรือกลุ่มดาวในจักรราศี และเมื่อรวมกับ ดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์ ก็จะมีดาวบริวารของโลกทั้งสิ้น 7 ดวง ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำไมสัปดาห์จึงมี 7 วัน จะเห็นได้จากชื่อที่ใช้เรียกในแต่ละวันยังคงมีความหมายที่เกี่ยวข้องกับดาว หรือตามตำนานของเทพเจ้าประจำดาว ทั้ง 7 ด้วย
เมื่อโลกเป็นสูตรกลางของจักรวาล โดยมีดาวทั้ง 7 ดวงที่โคจรอยู่รอบโลกนั้น ดาวก็ถูกจัดเรียงลำดับตามระบบปโตเลมี (Ptolemaic system) คือ เรียงจากดาวไกลสุดจากโลกมากที่สุดมายังดาวใกล้โลกมากที่สุด โดยใช้อัตราการโคจรรอบโลกเป็นตัววัด จึงได้มีการเรียงลำดับดังนี้ เสาร์ พฤหัส อังคาร อาทิตย์ ศุกร์ พุธ และจันทร์ ดังรูปที่แสดง
อ้างอิง : http://guru.google.co.th/guru/thread?force=1&tid=379798f583c77f3
http://guru.sanook.com/9058/%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89-1-%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%9B%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B9%8C%E0%B8%A1%E0%B8%B5-7-%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99/
= น.ส.ศิรดา มหาวีรวัฒน์ รหัสนิสิต 57010112564 รหัสวิชา 0026008 กลุ่มเรียนที่ 2 =