วันจันทร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2557

บทความ 1 ลูกอม

              ลูหรือยิ้





             


          ในวัยเด็กเชื่อว่าพวกเราหลายคน คงยังติดใจรสชาติของพวกน้ำตาลก้อนทั้งหลายไม่ว่าจะเป็น ลูกอมทอฟฟี่ อมยิ้ม น้ำตาลปั้นที่ปั้นรูปต่างๆ ไม่เว้นแต่กระทั่งสายไหมตามงานวัดก็เถอะ ซึ่งพวกเราในวัยเด็กคงเคยลิ้มลองรสชาติความหวานของน้ำตาลก้อนเหล้านี้มาแล้วทั้งสิ้น แต่ถ้าให้เลือกถึงความอร่อยรวมถึงรสชาติแปลกๆ เชื่อว่าหลายคนคงปฏิเสธไม่ได้ว่าอมยิ้มนี่แหละแปลกเสียจริงทั้งวิธีการกินก็แปลกๆ ที่ต้องจับด้ามแล้ว เข้าๆออกๆ หรือ บางคนอมแช่ไว้อยู่อย่างนั้นแหละ หรือไม่ก็อาจจะอมดูดๆก็ได้แล้วแต่ความชอบใจของแต่ละคน

ประวัติอมยิ้ม 

       การผลิตอมยิ้มน่าจะมีมาตั้งแต่สมัยโบราณตามที่สมาคมลูกกวาดแห่งชาติสหรัฐอเมริกา According to the NationalConfectionary Association กล่าวว่า การทำอมยิ้มมีไม้เสียบอันแรกทำโดยมนุษย์ที่อยู่ในยุคดึกดำบรรพ์สมัยอาศัยอยู่ในถ้ำซึ่งในสมัยนั้นการเก็บรวงผึ้งและน้ำผึ้งจะใช้ไม้เก็บเพื่อป้องกันไม่ให้สูญเสียความหวานส่วนที่เหลือพวกเขาก็จะเสียบแท่งไม้ไว้ และนี่เองอาจเป็นจุดกำเนิดของอมยิ้มที่เกิดขึ้นครั้งแรกอย่างไม่ได้ตั้งใจ 
ลูกกวาดน้ำตาล ทั้งด้านความหมายของลูกอมน้ำตาลและวิธีการที่ใช้ในการทำสูตรครั้งแรกสำหรับปรุงมันเพื่อชี้ให้เป็นว่าเป็นของดั้งเดิมแต่โบราณ เราสามารถหาร่องรอยลูกอมน้ำตาลได้นั้นต้องย้อนไปจนถึงภาษาเปอร์เซียและสันสกฤตที่ใช้น้ำตาลเป็นก้อน ๆ ความจริงที่ว่าคำมีต้นกำเนิดจากโบราณเพียงแสดงให้เห็นว่าอะไรทำให้ที่ ลูกอมน้ำตาลเป็นที่ต้องการและอะไรที่ไม่ธรรมดาส่งมันผ่านจากสังคมหนึ่งไปยังอีกสังคมหนึ่งครั้นเมื่อสมัยนั้นมนุษย์เราได้รู้จักน้ำตาลเป็นครั้งแรกมันเป็นวัตถุดิบที่หาได้ยากและมีราคาแพงผิดกับในสมัยปัจจุบันที่สามารถหาได้ง่ายเนื่องจากในสมัยนั้นผู้คนมีความเชื่อว่าน้ำตาลสามารถใช้เป็นยารักษาโรคได้ ซึ่งในสมัยนั้นบุคคลที่จะมีน้ำตาลในครอบครองมักจะเป็นพวกขุนนาง ต่อมาในยุคกลางน้ำตาลคค่อยเป็นที่รู้จักมากขึ้นมันแพร่หลายมากในยุโรป โดยเฉพาะคนอังกฤษยกย่องคุณสมบัติของมันว่า น้ำตาลเป็นผู้รักษาโรคฤดูหนาวได้ดี การบริโภคในยุคนั้นเราอาจจะกินน้ำตาลแบบเป็นก้อนหรือน้ำตาลพันไม้หรือที่คนอังกฤษเรียกว่า pen nets คนละตินเรียก penida ซึ่งลักษณะเหล่านี้มีให้เห็นอย่างชัดเจนในอเมริกาโดยมีจุดประสงค์ที่จำเป็นเพื่อต่อต้านความหนาวเหมือนกัน และในปัจจุบันก็นับว่าโชคร้ายที่ไม่มีใครบอกได้ว่าอมยิ้มถูกพบครั้งแรกเมื่อใดเ แต่ที่เรารู้แน่คืออมยิ้มเป็นลูกกวาดที่นิยมมากที่สุด

ที่มาของคำว่า อมยิ้ม ( Lollipop ) 

    นักภาษาศาสตร์บางคนคิดว่าความหมายของคำว่า Lollipop น่ามาจากคนขายของริมทางในกรุงลอนดอนระหว่างยุคสมัยของชาร์ลส์ ดิกเกนส์ (Charles Dikens) ซึ่งต่อมาคำว่า Lollipop ถูกบันทึกเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ.1784 ใน London Chronicle ฉบับเดือนมกราคม ในขั้นตอนนี้ อมยิ้มเป็นเพียงลูกกวาดธรรมดา และไม่ได้ดูเหมือนว่าจะเป็นอยู่จนกระทั่งศตวรรษที่ 20 ที่มีลักษณะอย่างที่เห็นในปัจจุบัน อย่างที่เห็นว่าอมยิ้มดั้งเดิมเองไม่มีลักษณะที่ชัดเจน และคำอธิบายที่พบบ่อยคือมันมาจากคำว่า lolly เป็นภาษาดั้งเดิมของอังกฤษตอนเหนือที่ใช้เกี่ยวกับลิ้น (จึงเรียกเช่นนี้ เพราะลิ้นแลบออกมา)และต่อมาความหมายของคำว่า lolly ศตรรษที่18 ซึ่งเป็นศตวรรษหนึ่งแห่งการกิน ดังนั้น อมยิ้ม จึงเป็นสิ่งที่ยื่นเข้าไปในปากไม่จำเป็นว่าจะต้องมีความหมายว่า เป็นลูกอมเสียบไม้อย่างที่เห็นได้ปกติในเวลาต่อมา ในภาษาเก่า ๆ ของลูกอมเคี่ยวที่จำหน่ายโดยผู้ผลิตลูกกวาดยังคงเรียกว่า lolly แม้ว่าจะไม่มีไม้เสียบแล้วก็ตาม ในสหรัฐอเมริกาคำลงท้าย (pop) นำมาใช้ต่อท้าย ในคำว่า popsicle ลูกอมแข็ง ๆ เสียบไม้มักทำมาจากกระดาษม้วนเป็นขนมว่างที่เด็กโปรดปราน และเริ่มมารู้จักในอังกฤษเมื่อทศวรรษที่ 1780 ชื่อมีที่มาจากภาษาท้องถิ่นของอังกฤษ " lolly," " tongue" และ " popซึ่งอาจจะเกี่ยวข้องกับเสียงที่เกิดขึ้นเมื่อเอาลูกอมออกจากปากวิธีการทำลูกกวาดเหล่านี้ถูกรวมกับตำราของนักทำลูกกวาดมืออาชีพมีเครื่องจักรพิเศษเพื่อให้ได้รูปร่างที่สมบูรณ์และเสียบไม้มีสูตรมากมายสำหรับการเคี่ยวลูกกวาดน้ำตาลแข็งๆซึ่งส่วนใหญ่มีรูปร่างเหมือนไม้หยดน้ำก้อนหินและลูกบอลมีรสชาติและสีหลากหลายและไม่มีความจำเป็นต้องนำไม้ไปเสียบเพื่อการประดิษฐ์เหล่านี้และมันยังมีส่วนเล็กๆที่นำมาทำเป็นของเล่นจากน้ำตาลเคี่ยวลูกกวาดเหล่านี้ทำเป็นรูปร่างขึ้นด้วยเชื้อราโดยเฉพาะรูปสัตว์นั้นเป็นที่นิยมมากและยังมีวิธีการทำเป็นนกหวีดลูกกวาดเป็นสามมิติด้วย

                       Photobucket   PhotobucketPhotobucketPhotobucket


ลูกอม (candy) เป็นผลิตภัณฑ์ในกลุ่มขนมหวาน (confectionery) คำนิยามตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข หมายถึง ผลิตภัณฑ์สำหรับใช้อมหรือเคี้ยว ที่มีการแต่งรสใดๆ มีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบหลัก และอาจมีส่วนประกอบอื่นๆ เพื่อปรุงแต่งกลิ่นรสด้วยหรือไม่ก็ได้ (ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 228) พ.ศ.2544 เรื่อง หมากฝรั่งและลูกอม)
ส่วนประกอบที่สำคัญของลูกอมลูกอมเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบหลักๆ ได้แก่ สารให้ความหวาน สารแต่งรสหรือกลิ่น (flavoring agent)  สารแต่งสี(coloring agent) และอื่นๆ
  • สารให้ความหวาน ได้แก่ น้ำตาลทราย (sucrose) น้ำเชื่อมกลูโคส (glucose syrup) น้ำเชื่อมฟรักโทส (fructose syrup) น้ำตาลอิน- เวิร์ต (invert sugar) หรือสารให้ความหวานแทนน้ำตาล (sugar substitute) ได้แก่ น้ำตาลแอลกอฮอล์ (sugar alcohol) เช่น ซอร์บิ-ทอล (sorbitol) แมนนิทอล (mannitol) โดยจะมีผลต่อความหวาน รวมทั้งความใสของลูกอมด้วย
  • สารแต่งรสหรือกลิ่น ได้แก่ วัตถุแต่งกลิ่นรส ทั้งที่เป็นสารธรรมชาติ เช่น น้ำมันยูคาลิปตัส น้ำมันจากเปลือกส้ม หรือจากการใช้สารเคมีผสมให้เกิดกลิ่นที่ต้องการ เช่น ครีมโซดา กลิ่นองุ่น หรือส่วนประกอบที่แต่งกลิ่นรสได้ เช่น ช็อกโกแลต (chocolate) กาแฟผง หรือนมผง ในลูกอมรส กาแฟ หรือท๊อฟฟี่นม เป็นต้น
  • สารแต่งสี ลูกอมโดยปกติจะเกิดสีน้ำตาล อันเนื่องจากความร้อน ที่ใช้ในกระบวนการผลิตในช่วงเคี่ยวน้ำตาล แต่บางครั้งผู้ผลิตจำเป็นต้องใส่สีต่างๆ เพื่อดึงดูดความสนใจของผู้ซื้อ เช่น แต่งสีแดง สำหรับลูกอมกลิ่นสตรอเบอร์รี่ เป็นต้น
  • ส่วนประกอบอื่นๆ ได้แก่ กรดอินทรีย์ (organic acid) กรดที่นิยมใช้ในการผลิตลูกอม ได้แก่ กรดซิตริก (citric acid) กรดทาร์ทาริก (tartaric acid) และกรดมาลิก (malic acid) โดยใช้เพื่อควบคุมความหวาน แต่งรสและยืดอายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์

ประเภทของลูกอม
      ลูกอมแบ่งตามลักษณะทางกายภาพได้ 3 ประเภท คือ
-  ลูกกวาด (hard candy หรือ hard boiled candy) เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะแข็ง เมื่อเคี้ยวจะแตก        อาจมีการสอดไส้ด้วยก็ได้ ผลิตโดยการต้มน้ำตาลให้ได้ความเข้มข้นสูง นำมาเคี่ยวจนได้ที่ นวดผสม      กัน ทำให้เกิดการตกผลึก (crystallization) แล้วจึงเทลงพิมพ์ หรือขึ้นรูปให้เป็นรูปทรงต่างๆ

-  ขนมเคี้ยว (chewy candy) ได้แก่ คาราเมล (caramels) ท๊อฟฟี่ ลักษณะจะนิ่มจนถึงค่อนข้างแข็ง ผล    โดยการนำน้ำตาลกลูโคสไซรัป น้ำ ไขมัน หรือส่วนประกอบอื่นปั่นให้เข้ากันจนมีลักษณะเป็นอิมัลชัน
    (emulsion) ก่อน จึงนำมาเคี่ยวจนได้ที่ นวดผสม และรีดอัดเม็ด
-  ซอฟต์แคนดี้ (soft candy) ได้แก่ ครีม (creams)  ฟัดส์ (fudges)  มาร์ชแมลโล (marshmallow)           ผลิตภัณฑ์ที่ได้จะมีลักษณะนิ่มอ่อนตัวมากกว่าขนมเคี้ยว เนื่องจากมีปริมาณความชื้นมาก
กว่า Reference   


                                                


      ขึ้นชื่อว่าลูกกวาด (Candies) เด็กคนไหนได้เห็นก็คงร้องอยากกิน เพราะลูกกวาดนั้นทั้งหอมทั้งหวานแถมยังมีสีสันสดใสล่อตาล่อใจจนผู้ใหญ่บางคนอดใจไม่ไหวต้องขอแอบชิมมานักต่อนัก แต่รู้กันหรือไม่ว่าลูกกวาดที่ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ (บางคน) ชื่นชอบกันนั้นทำมาจากอะไร

ลูกกวาดรสหวาน สีสันสดสวย หลากหลายรูปลักษณ์ที่เราเห็นทั่วไป ได้จากการเคี่ยวน้ำเชื่อมจนมีลักษณะเหนียวข้นเป็นคาราเมล โดยเนื้อสัมผัสที่แตกต่างกันของลูกกวาดนั้นเกิดจากความเข้มข้นของน้ำตาลและอุณหภูมิที่ใช้ ยิ่งอุณหภูมิที่ใช้ทำลูกกวาดสูงเท่าใด ลูกกวาดที่ได้ก็จะมีความแข็งขึ้นเท่านั้น เพราะยิ่งเคี่ยวน้ำตาลนานขึ้นปริมาณน้ำที่อยู่ในน้ำตาลก็จะลดลงเรื่อยๆ ลูกกวาดที่ได้จึงมีลักษณะแข็งมากขึ้น และเมื่อเคี่ยวน้ำตาลต่อไปอีกก็จะได้ลูกกวาดชนิดต่างๆ ดังนี้

Nougat
ขนมหวานที่เรียกว่านูกัด ถ้าออกเสียงแบบอเมริกันจะออกเสียงว่า "นู-กัด" แต่ทางยุโรปส่วนมากออกเสียงว่า "นู-ก้า" (Nougat) ที่ว่านี้มีถั่ว 2-3 ชนิดผสมอยู่ในเนื้อขนม บางครั้งอาจใส่ผลไม้เชื่อมลงไปด้วย เวลาเคี้ยวจะเหนียวหนึบติดฟันเหมือนเวลากินตังเมบ้านเรานั่นแหละ ปกติแล้วนูกัดจะมีสีขาวหม่น แต่ปัจจุบันมีการเติมสีสันเพื่อเพิ่มความสวยงามน่ากิน เช่น สีชมพูอ่อน สีเขียวอ่อน สีเหลือง และดัดแปลงไปหลายรูปแบบ เช่นแคลือบด้วยช็อกโกแลตเป็นไส้ใน Candy Bars หรือใส่เป็นส่วนผสมในเค้ก เป็นต้น นอกจากนี้ยังเป็นหนึ่งในขนมหวาน 13 ชนิดในเทศกาลคริสต์มาสของแคว้นโปรวองซ์ (Provence) ในประเทศฝรั่งเศสอีกด้วย

Taffy
แทฟฟี่เป็นลูกกวาดคนละประเภทกับทอฟฟี่ แต่มักถูกเรียกเหมารวมทั้งทอฟฟี่และแทฟฟี่ว่า "ทอฟฟี่" ไปเสียนี่ แทฟฟี่มีลักษณะเหนี่ยวนุ่ม เคี้ยวอร่อยหวานมัน แล้วแต่งแต้มสีสันด้วยสีผสมอาหารสีต่างๆ เมื่อทำเสร็จจะห่อด้วยกระดาษไขเพื่อป้องกันการแข็งตัวแทฟฟี่ตามท้องตลาดส่วนใหญ่มักจะแต่งกลิ่นและรสผลไม้นานาชนิดด้วย

Toffee และ Caramels
ทอฟฟี่และคาราเมลเป็นลูกกวาดเนื้อแข็งที่ไม่มีผลึกน้ำตาลอยู่ในเนื้อขนมแต่มีส่วนผสมที่เป็นนมหรือผลิตภัณฑ์จากนม รวมไปถึงไขมันอยู่ด้วย มีทั้งประเภทเนื้อเหนียวสำหรับเคี้ยวหนืบและประเภทเนื้อแข็งสำหรับอม ส่วนใหญ่มีสีเข็มเนื่องจากผ่านขั้นตอนการทำที่ใช้เวลานานและอุณหภูมิที่สูงกว่าแทฟฟี่ จึงทำให้มีสีเข้มกว่า บางครั้งมีการเติมถัวหรือลูกเกดหรือเคลือบด้วยช็อกโกแลต นอกจากนี้อาจนำทอฟฟี่ไปทำขนมที่เรียกว่าทอฟฟี่แอปเปิลหรือคาราเมลแอปเปิลโดยนำแอปเปิลเสียบไม้แล้วชุบด้วยทอฟฟี่ จากนั้นจึงโรยด้วยถั่ว แต่ก็มีการนำเกล็ดน้ำตาลหลากสีหรือช็อกโกแลตมาโรยแทนด้วย

Marshmallow
มาร์แมลโลว์เป็นขนมกินเล่นเนื้อเหนียวนุ่มเคี้ยวหนึบหนับนี้ได้จากการเคี่ยวน้ำตาลแล้วเติมเจลาตินกับไข่ขาวลงไป ปกติแล้วมาร์ชแมลโลว์จะมีสีขาว แต่บางครั้งก็เติมสีอ่อนๆ ลงไปด้วย มาร์ชแมลโลว์สามารถกินได้ทั้งแบบเปล่าๆ หรือใส่ในโกโก้ร้อนก็ได้ เมื่อมาร์ชแมลโลว์ถูกความร้อนก็จะละลายผสมเป็นเนื้อเดียวกับโกโก้ร้อนๆ แก้วโปรด ชาวอเมริกันมักจะติดเจ้ามาร์ชแมลโลว์ไปปิกนิกด้วยเสมอ พอตกกลางคืนก็จะนำมาเสียบไม้แล้วปิ้งให้ละลายเล็กน้อย นำมาประกบกับแครกเกอร์หรือช็อกโกแลตบาร์ กินอย่างเอร็ดอร่อย

Lollipops 
ชื่อนี้อาจไม่ค่อยคุ้นหูคนไทยนัก แต่ถ้าเรียกว่าอมยิ้มหรือลูกอม ทุกคนจะต้องร้องอ๋อทันที ลูกอมชนิดนี้มีขายตามท้องตลาดทั่วไป โดยมีส่วนประกอบสำคัญอยู่ไม่กี่อย่าง ได้แก่ น้ำตาลทราย แบะแซหรือน้ำเชื่อมกลูโคส กรดซิตริก (Citric Acid) สำหรับปรับรสเปรี้ยว และสารสังเคราะห์ที่ใช้ปรุงแต่งสี กลิ่น รส ให้ เป็นลูกอมรสต่างๆ และสิ่งสำคัญในการผลิตลูกอมชนิดแข็งก็คือบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ต้องป้องกันไม่ให้ความชื้นผ่านเข้าไปยังเนื้อลูกอมได้ จึงจะทำให้เก็บไว้ได้นานโดยไม่เยิ้มแฉะหรืออ่อนนิ่มไปเสียก่อน

Brittles
ความโดดเด่นของขนมชนิดนี้คือมีลักษณะเฉพาะที่สมชื่อ คือเปราะ แตกง่าย ยกตัวอย่างให้เห็นภาพชัดเจนขึ้นก็คือประเภทเดียวกับถั่วตัดนั่นเอง สำหรับชาวจีนเรียกขนมนี้ว่า "เต่าปัง" ได้จากการเคี่ยวน้ำตาลจนถึงขั้นตอนที่เรียกว่า Hard Crack จากนั้นเติมส่วนผสมอื่นๆ เช่น ถั่วคั่ว เพื่อทำให้เนื้อสัมผัสแตกต่างและกินอร่อยขึ้น ในบ้านเรานอกจากถั่วตัดแล้วก็ยังมีถั่วกระจกที่อาจใช้เม็ดมะม่วงหิมพานต์หรือถั่วลิสง และขนมตุ้บตั้บที่ขายกันช่วงเทศกาลกินเจ ส่วนเศษขนมที่เหลือจากการตัดหรือเศษป่นๆ สามารถนำไปทำ Praline Paste หรือผสมในทอฟฟี่และคาราเมลโดยนำไปบดให้ละเอียดก่อนได้

Fudge 
ฟัดจ์มีรสชาติหวานเข้มข้น เป็นลูกผสมระหว่างคาราเมลกับฟองดองต์ (Fondants) โดยใช้ฟองดองต์เป็นตัวเหนี่ยวให้เกิดการตกผลึกเพื้อให้ได้เนื้อสัมผัสที่เคี้ยวง่ายในช่วงเวลาอันสั้น ฟัดจ์มีส่วนผสมของน้ำตาล เนย และนมที่ผ่านกระบวนการเคี่ยวในระดับที่เรียกว่า Soft-ball Stage ที่อุณหภูมิ 240 องศาเซลเซียส บางครั้งก็แต่งรสด้วยโกโก้หรือช็อกโกแลต และฟัดจ์ยังใช้ในการทำบราวนี่ด้วย

Praline
พราลีนถูกค้นพบครั้งแรกที่ประเทศฝรั่งเศสจากการเคี่ยวน้ำตาลด้วยอุณหภูมิสูง แล้วนำมาราดบนอัลมอนด์หรือถั่วชนิดต่างๆ เมื่อเย็นตัวลงจึงนำมาตัดเป็นชิ้นๆ และสามารถบดเป็นผงเพื่อใช้เป็นส่วนผสมในการทำเค้ก ไอศกรีม หรือขนมหวานอื่นๆ ได้

Cotton Candy
คุ้นลิ้นคุ้นรสเป็นอย่างดีสำหรับขนมหวานที่มีลักษณะฟูฟ่องคล้ายก้อนเมฆที่เรียกกว่า สายไหมนี้ ว่ากันว่าผู้ค้นพบคนแรกคือชาวอเมริกันขนมสายไหมเกิดจากการปั่นน้ำตาลด้วยเครื่องทำสายไหมซึ่งเครื่องรุ่นแรกๆ ประกอบไปด้วยหม้อใบเล็กสำหรับใส่น้ำตาลกับสานแต่งสีอาหาร และเครื่องทำความร้อนบริเวณขอบที่จะทำให้น้ำตาลหลอมละลายกลายเป็นเส้นใยบางเบา เมื่อสัมผัสกับอากาศจึงเกิดการแข็งตัวและถูกกักเก็บไว้ในหม้อใบใหญ่ โโยมีผู้ควบคุมเครื่องคอยแหย่แท่งไม้หรือมือลงไปในหม้อใหญ่เพื่อให้สายไหมจับตัวเป็นก้อน ซึ่งเครื่องทำสายไหมในปัจจุบันก็ใช้หลักการทำนองเดียวกัน
Gumdrop ลูกกวาดสีสันสดใสนี้ทำมาจากน้ำตาลที่ผ่านกรรมวิธีแล้วใส่เจลาตินลงไป มีรูปร่างคล้ายถ้วยและโรยด้วยน้ำตาลป่น ส่วนใหญ่มีสีสันและรสชาติเลียนแบบผลไม้หรือสมุนไพรต่างๆ ซึ่งบางคนอาจจะเรียกว่าสไปซ์ดรอป (Spicedrop) จะอมหรือเคี้ยวก็ได้ และยังนำไปตกแต่งเค้กหรือคัปเค้กเพื่อความสวยงามเก๋ไก๋ได้อีกด้วย

Jujubes 
จูจุ๊บมีลักษณะเด่นที่สีสันสดใสชวนลิ้มลองมีกลิ่นและรสชาติหอมหวาน กลิ่นรสดั้งเดิมมีทั้งมะนาว ส้ม เชอร์รี่ แต่ต่อมามีกลิ่นมินต์ กุหลาบ เพิ่มเข้ามาด้วยจูจุ๊บที่นิยมมากที่สุดคือ อเมริกันจูจุ๊บ ทำจากแป้ง เจลาติน น้ำตาล และกลูโคส ด้วยความที่จูจุ๊บได้รับความนิยมอย่างมาก จึงมีหลายชนิดมากขึ้น ได้แก่ ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์จูจุ๊บ แคนาดาจูจุ๊บ เป็นต้น

Jelly Bean 
ลูกกวาดรูปร่างหน้าตาคล้ายกับเมล็ดถั่วแดงนี้มีสีสันและรสชาติต่างๆ ซึ่งในปัจจุบันมีเจลลีบีนกว่าร้อยรส มีส่วนผสมที่คล้ายกับ Gumdrop แต่เพิ่มเลซิทิน เกลือ และหุ้มด้วยขี้ผึ้งเข้าไปด้วย เจลลีบีนบางเม็ดถึงแม้จะมีสีเหมือนกัน แต่อาจจะมีรสเชอร์รี่หรืออบเชย หรือสีส้มอาจเป็นได้ทั้งรสส้มหรือรสขิงก็ได้

Candy Cane
ลูกกวาดรูปไม้เท้าลายขาวสลับแดงกลิ่นรสเปปเปอร์มินต์ คือขนมหวานสัญลักษณ์ของเทศกาลคริสต์มาสที่มีความหมายแฝงไว้ คือรูปทรงโค้งงอเหมือนไม้เท้านั้นก็คือตัว J แทนคำว่า Jesus และสีแดงกับสีขาว โดยสีแดงแทนเลือดของพระผู้เป็นเจ้า สีขาวแทนความบริสุทธิ์ของพระผู้เป็นเจ้า ส่วนรสเปเปอร์มินต์ที่มีความเผ็ดร้อนถือเป็เอกลักษณ์ของลูกกวาดชนิดนี้

นอกเหนือจากที่กล่าวมายังมีผลิตภัณฑ์จากน้ำตาลอีกหลายชนิดที่ไม่ได้อยู่ในรูปของลูกกวาดที่เห็นวางขายอยู่ทั่วไป เช่น ฟองดองต์ (Fondants) ที่นิยมใช้ตกแต่งเค้ก โดยการรีดฟองดองต์เป็นแผ่นแล้วหุ้มเข้ากับตัวเค้กส่วนมากใช้ตกแต่งเค้กเพื่อวางโชว์มากกว่า เนื่องจากฟองดองต์มีความทนทานและทนต่อสภาพอากาศมากกว่าครมที่ใช้แต่งหน้าเค้กทั่วไป



                                                               


ประโยชน์และอันตราย
       
       น้ำตาลเป็นตัวการที่ทำให้ฟันของลูกผุมากกว่าอย่างอื่นค่ะ เพราะแบคทีเรียที่อยู่ในคราบฟันหรือ(plaque)จะใช้น้ำตาลสร้างกรดขึ้นมาทำลายเคลือบฟันออกไป น้ำตาลแลคโตสในนมและที่อยู่ในผลไม้ ผัก เมล็ดพืช หรือถั่วไม่ทำให้ฟันผุมากนัก น้ำตาลตัวร้ายก็คือ ซูโครส หรือน้ำตาลที่ผ่านการแปรรูปนี่เอง
       
       ความจริงแล้ว ร่างกายต้องการน้ำตาลในจำนวนที่พอเหมาะ และต้องการน้ำตาลในรูปของน้ำตาลกลูโคสอยู่ตลอดเวลา เพื่อช่วยให้สมองและระบบประสาททำงานเป็นปกติ โดยเมื่อเรากินอาหาร ร่างกายจะนำกลูโคสจากอาหารส่งไปยังกระแสเลือด น้ำตาลบางส่วนได้ถูกส่งไปสู่กระแสเลือดทันทีเพื่อจัดสรรพลังงานให้กับเซลล์ต่างๆ ส่วนที่เหลือใช้จะถูกเปลี่ยนเป็นไกลโคเจนเก็บไว้ในตับและเซลล์กล้ามเนื้อ เพื่อเตรียมพร้อมไว้สำหรับเปลี่ยนเป็นกลูโคสเมื่อร่างกายต้องการ เรามีไกลโคเจนสะสมไว้เล็กน้อย เมื่อเทียบกับไขมัน คนหนัก 70 กก. จะมีไกลโคเจน 1 กก. แต่มีไขมันถึง 16 กก.
       
       น้ำตาลไม่ได้ทำให้อ้วน เพราะน้ำตาลมีพลังงานเท่ากับคาร์โบไฮเดรตอื่นๆ เช่น มันฝรั่งหรือถั่ว น้ำตาลส่วนใหญ่มีคุณค่าทางอาหารเล็กน้อย ยิ่งน้ำตาลทรายขาวที่มีความบริสุทธิ์มีคุณค่าทางอาหารต่ำ แต่มีซูโครสถึง 99.5 % อาหารที่มีพลังงานสูง เช่น ช็อกโกแลต เค้ก คุกกี้ แม้จะกินเข้าไปน้อยก็ได้รับแคลอรีมาก ช็อกโกแลตแท่งหนึ่งอาจจะมีแคลอรีเท่ากับอาหารมื้อหนึ่งที่มีทั้งไก่ มันต้ม ผัก และน้ำเกรวี่ แต่จะไม่ทำให้อิ่มและไม่ให้คุณค่าอาหารที่หลากหลาย ดังนั้น ถ้าเรากินอาหารที่อุดมไปด้วย คุณค่าทางอาหารแล้ว ก็ควรลดขนมหวาน
       
       ส่วนกระแสการลดความอ้วนที่กำลังระบาดไปถึงเด็กๆขณะนี้ ถ้าเราห้ามทั้งน้ำตาลและไขมัน ร่างกายจะไม่มีพลังงานไว้ใช้ค่ะ จึงควรลดให้พอเหมาะและเป็นไปอย่างถูกต้องจะดีกว่า โดยการกินน้ำตาลที่มาจากพืชพรรณธรรมชาติมากกว่า น้ำตาลที่ได้จากการแปรรูป
       
       และอย่ามัวแต่กลัวน้ำตาลแปรรูปที่อยู่ในขนมหวาน เพราะในอาหารกระป๋อง บางอย่าง หรือแม้แต่ซอสมะเขือเทศ ก็มีน้ำตาลอยู่เต็มไปหมด ยิ่งถ้าคุณเป็นแม่ครัวเอกที่หนักหวานแล้วละก็ ลูกอาจจะได้น้ำตาลเกินความจำเป็นเพราะฝีมือแม่นี่เอง





                        




                 = น.ส.ศิรดา  มหาวีรวัฒน์  รหัสนิสิต 57010112564 รหัสวิชา  0026008 กลุ่มเรียนที่ 2 =




อ้างอิง : http://utcc2.utcc.ac.th/faculties/comarts/webjrshow/lollipop/Boy/Lollipop/lollipop.htm
              http://www.foodnetworksolution.com/wiki/word/1147/candy-ลูกอม
              http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9560000136487
              http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=free4u&month=09-                            2012&date=27&group=77&gblog=84

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น